จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลาง แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทยที่มีแหล่งธรรมชาติ น้ำตก สถานที่สวยงามมากมาย ทุกคนมุ่งตรงและสนใจอยากมาเที่ยวชม ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก
วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอแหล่งวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ค่อยรู้จักมีศิลปะโบราณวัตถุและประวัติ ตำนานอันเก่าแก่ที่ยาวนาน มีพระธาตุสวยงามอีกที่หนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ วัดยางกวง ตั้งอยู่ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่
การเดินทางเข้าถึงสะดวกเริ่มจากด้านหน้าประตูเชียงใหม่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู้ถนนสุริยะวงศ์ ทางไปยังวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ วัดที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงโดยรอบ คือวัดธาตุกลาง(ร้าง) วัดเลาเสียง(ร้าง) วัดแสนเส้า(ร้าง) วัดกู่เสือ(ร้าง) และวัดนันทาราม อันจัดเป็นกลุ่มวัดที่อยู่ทางด้านทิศใต้นอกเขตตัวกำแพงเมือง คูเมืองสี่เหลี่ยม
และอยู่ภายในเขตกำแพงเวียงชั้นนอก (กำแพงดิน) สถานภาพปัจจุบันของวัดเป็นวัดร้าง ในเขตพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติและหน้าที่รับผิดชอบของกรมศิลปากร วัดยางกวงมีขนาดเนื้อที่ ๑ ไร่ ๓ งาน ครอบคลุมในส่วนของพระเจดีย์ (รวมขอบเขตกำแพงแก้ว)
และพระวิหาร ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงทางด้านใต้ค่อนมาทางตะวันตกของส่วนองค์พระเจดีย์ อีกทั้งข้อมูลวัด ไม่ปรากฏการลงภาพผังโฉนดขอบเขตเนื้อที่ดินของวัดมีบริเวณป้อมทรงโค้งก่ออิฐที่มุมด้านตะวันตกเฉียงใต้ ในปัจจุบันกรมศิลปากรบูรณะแล้วเสร็จเข้าใจกันว่าเดิมชื่อวัดรั้วหน่างในเขตเวียงรั้วหน่างใน
สมัยพญามังรายในตำนานพื้นเมืองของเชียงใหม่กลุ่มคนต่างๆที่เข้ามาส่วนใหญ่ก็มาจากการกวาดต้อนเข้ามาของพระเจ้ากาวิละ เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เข้ามาฟื้นฟูบูรณะเมืองเชียงใหม่ วัดยางกวงเป็นชื่อวัดที่ใช้เรียกกันตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ตามลักษณะสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัด
มีชื่อเหมือนกับวัดในเมืองเชียงตุงและมีชาวเขินจากเมืองเชียงตุงเข้ามาอาศัยอยู่ และเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่าวัดยางกวงจากนั้นก็แวะเที่ยวชมซื้อสินค้าพื้นเมือง ในตลาดเล็กๆของชาวเชียงใหม่ ที่ทุกตนรู้จักเรียกกันในนามภาษาเหนือว่า กาดก้อม ซึ่งอยู่ถนนตรงข้ามทางทิศใต้ของวัดยางกวง อย่างน่าสนใจทีเดียว
สนับสนุนโดย Holiday Palace